วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความหมายของประเพณีไทย



พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี 
คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
โดยสรุปแล้ว ประเพณีไทย หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ

ประเพณีไทย อุ้มพระดำน้ำ



ประเพณีไทย อุ้มพระดำน้ำ

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นประเพณีของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ที่มีความเชื่อถือศรัทธาต่อพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง คือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิ จากตำนานเล่าสืบกันมาว่า ย้อนหลังไปประมาณ ๔๐๐ ปี ชาวประมงกลุ่มหนึ่งออกหาปลาบริเวณลำน้ำป่าสัก ซึ่งในสมัยนั้นมีปลาชุกชุมมาก วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ประหลาด ทั้งวันไม่สามารถจับปลาได้เลย และกระแสน้ำก็เกิดหยุดไหล มีพรายน้ำผุดขึ้นทีละฟอง และมากขึ้นตามลำดับ แล้วเปลี่ยนเป็นวังวนวงใหญ่และลึกมาก ปรากฏพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยจากใต้น้ำขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ชาวประมงจึงอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานบนบกให้ผู้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา และได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยลพบุรีลักษณะงดงาม ชาวบ้านจึงขนานนามว่า พระมหาธรรมราชา 



บางตำนานก็เล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งไปทอดแหในแม่น้ำป่าสัก พายเรือจากบ้านไปเรื่อย ๆ จนถึงบ้านนาสารก็หาปลาไม่ได้ พอไปถึงวังน้ำลึกก็ทอดแหลงไป แต่ดึงแหไม่ขึ้น จึงดำน้ำลงไปก็พบพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ ปรากฏว่าประดิษฐานได้ปีเดียวก็หายไปจากตู้กระจก วันหนึ่งหลวงตารพราหมณ์ได้ไปทำทำนบกั้นน้ำ วิดปลาจนน้ำเริ่มแห้งขอด พอใกล้สว่างก็พบพระทองเหลืองอร่าม เป็นองค์เดียวกันกับพระที่หายไปจากวัดไตรภูมิ จึงอัญเชิญไปไว้ที่วัดอีก พระอาจารย์ที่วัดจึงไปหาหมอมาสะกดด้วยการตอกตะปูที่อุ้งพระบาท จึงไม่สามารถหลบไปได้อีก หากปีใดมีความแห้งแล้งเกิดขึ้น ก็จะทำพิธีบวงสรวงโดยยกเป็นศาลเพียงตาสามวันสามคืน หากต้องการให้ฝนตกตามฤดูกาล ก็อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแห่รอบเมือง มีการสวดคาถาด้วยก็จะบันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาลได้ 

จากตำนานที่พระพุทธรูปได้หายไปจากวัดไตรภูมิถึง ๒ ครั้ง ดังนั้นจึงได้มีพิธีนำพระพุทธรูปไปดำน้ำป่าสัก ปีแรกมีการอุ้มพระพุทธรูปมาดำน้ำที่เกาะวังศาล ครั้งที่ ๒ ได้นำพระพุทธรูปมาดำน้ำที่วัดโบสถ์หรือวัดโบสถ์ชนะมารมาจนถึงปัจจุบัน 


พิธีอุ้มพระดำน้ำจะเริ่มจากการแห่พระวนรอบเมือง เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา หลังจากทำพิธีแห่รอบเมืองแล้ว จะนำพระพุทธมหาธรรมราชาไปประดิษฐานในปะรำพิธีที่วัดไตรภูมิ เพื่อให้ประชาชนได้มากราบไหว้บูชา ปิดทอง ตอนค่ำจะมีการสวดมนต์เย็น ตกกลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นต่าง ๆ พอวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีทำบุญวันสารท ชาวบ้านจะนำภัตตาหารมาถวายที่วัด มีข้าวกระยาสารทพร้อมด้วยเครื่องไทยธรรมต่าง ๆ จะมีพิธีอุ้มพระดำน้ำ มีการรำถวายบวงสรวงด้วยการฟ้อนชุดต่าง ๆ 


เมื่อได้ฤกษ์พิธีอุ้มพระดำน้ำ จะเริ่มด้วยการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงบุษบกในเรือพิธี บริเวณที่จะอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงสรงน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ซึ่งเป็นวังน้ำลึก ผู้ที่รับหน้าที่อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำ คือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยอุ้มพระพุทธรูปลงดำไปยังก้นแม่น้ำ แล้วโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบ ๔ ครั้ง ถือว่าเป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าหากไม่ได้ทำพิธีอุ้มพระดำน้ำจะเกิดฝนแล้ง 


ภายหลังจากที่ได้ผ่านพิธีการอุ้มพระดำน้ำแล้ว ชาวเพชรบูรณ์ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จึงกระโดดลงไปอาบน้ำหรือตักขึ้นมาดื่มกิน เสร็จจากพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้ว ก็จะเริ่มการแข่งขันเรือประเพณีไทยของจังหวัดซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี 


พิธีอุ้มพระดำน้ำในปีนี้จะตรงกับวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันสารทไทย สอบถามข้อมูลได้ที่ประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๗๒ ๙๗๔๖-๗ สำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๗๑ ๑๔๗๕, ๐๕๖๗๑ ๑๐๐๗ ต่อ ๑๐๒ 

จังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๔๖ กิโลเมตร มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายประเภท ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และธรรมชาติ เช่น ไร่บีเอ็น เขาค้อ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ฯลฯ

ประเพณีไทย วันสงกรานต์ สร้างชื่อเสียงไทยดังไกลทั่วโลก

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"  

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับ วันสงกรานต์2555 ปีนี้ ประเพณีรดน้ำดำหัว ของไทยที่โด่งดังไกลทั่วโลกเลยทีเดียว และวันนี้เรามี ประวัติวันสงกรานต์ ฉบับภาษอังกฤษ มาให้ทุกท่านได้ชมและได้รู้กันเลยว่า ประเพณีสงกรานต์ อันยิ่งใหญ่ของไทยนั้นมีค่า และควรรู้รักษาไว้มากแค่ไหน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สงกรานต์2555 ปีนี้คงไม่มีเรื่องฉาว อย่างเช่น สงกรานต์ สีลม หรือ สงกรานต์ โหด เหมือนที่เคยเกิดมาทุกปีเลย 


Thailand Songkran or Water Festival is considered the traditional Thai New Year and is famous for its grand water fighting festival. Every year and across the country, Songkran will be held around the middle of April (13-15th), the hottest month of the year, when the Water Festival is held to cool off the heat

ภาพ:Songkarn_20.jpg

ภาพ:Songkarn_11.jpg

ภาพ:Songkarn_6.jpg

ภาพ:Songkarn_5.jpg

ภาพ:Songkarn_7.jpg


ภาพ:Songkarn_8.jpg

ภาพ:Songkarn_10.jpg

วันสงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ


สงกรานต์ตามคตินิยมโบราณ นิยมสรงน้ำพระและผู้อาวุโสอันเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญู เพื่อความเป็นสิริมงคล

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อนุรักษ์ประเพณีไทยก็มีข้อดี

อนุรักษ์ประเพณีไทยก็มีข้อดี

หัวข้อกระทู้เป็นการบอกถึงประโยชน์ที่จะได้จากการที่เราอนุรักษ์ประเพณีไทยว่ามีความสำคัญและได้รับผลดีอย่างไรเมื่อเราทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้สืบทอดชั่วลูกชั่วหลานและคู่กับประเทศไทยไปอีกนาน มาดูขอดีเป็นข้อๆสำหรับการอนุรักษ์ประเพณีไทย

1. ทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทยเกี่ยวกับวิถีชีวิต การดำรงชีพของคนสมัยโบราณที่แฝงกุศโลบายและความพอเพียงสามารถอยู่ได้ด้วยการที่รู้จักพอและรู้จักที่จะให้
2. การศึกษาประเพณีไทยจะทำให้ประเทศไทยยังสามารถรักษาวัฒนธรรมต่อไปในภายหน้า
3. สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ เพราะหลักคำสอนและแนวคิดของบรรพบุรุษมีความเฉียบแหลมและสามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย
4. เพื่อให้เราเป็นคนไทยที่ทำหน้าที่ความเป็นไทยได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องอะไรที่เป็นประโยชน์ของประเทศชาติก็ควรร่วมด้วยช่วยกัน
5. เพื่อทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับประเพณีไทยในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง
6. สามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจและข้อมูลและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีไปเผยแพร่ต่อ
7. เพื่อทำให้ตัวเองไม่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น สามารถนำเอาหลักคำสอนของคนสมัยก่อนมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. การที่เราทุกคนช่วยกันรักษาประเพณีไทยเหมือนกับช่วยกันรักษาความเป็นไทย

ประเพณีไทย แข่งเรือเมืองน่าน



ประเพณีไทย การแข่งเรือของจังหวัดน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบต่อกันมานาน ลักษณะของเรือแข่ง ลำเรือจะใช้ท่อนซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือชะล่า แต่รูปร่างเพรียวเบา หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค หรืองูใหญ่ชูคอเป็นสง่า อ้าปากโง้ง หางเรือทำเป็นหางพญานาคงอนสูง ตลอดลำเรือสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี ติดพู่ห้อยตรงหัวเรือและท้ายเรือ ตรงคอต่อหัวเรือปักธงประจำคณะ

ช่วงเวลา
นิยมแข่งขันกันในงานบุญและงานทอดกฐิน การแข่งเรือนัดสำคัญๆ ของจังหวัดน่าน คือ การแข่งในงาน"กฐินสามัคคี" เดิม ปัจจุบันคืองาน "กฐินพระราชทาน" แบ่งการแข่งขันออกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทสวยงาม และประเภทความเร็ว การแข่งเรือในเทศกาลทอดกฐินของจังหวัดน่าน ซึ่งจะจัดช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือว่าเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ และเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงามยิ่งในจังหวัดภาคเหนืออีกแห่งหนึ่งที่จัดให้มีการแข่งขันเป็นประจำปี คือ การแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาซึ่งจะมีการแข่งขันในเทศกาลทานก๋วยสลาก และเป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การแข่งเรือในตัวจังหวัด

ความสำคัญ
ลักษณะของเรือเมืองน่าน มาจากตำนานการตั้งเมืองน่านว่า ท้าวนุ่น ขุนฟองซึ่งเป็นต้นเค้าของราชวงศ์ภูคา บรรพบุรุษของเมืองน่านเกิดจากไข่พญางูใหญ่ จึงมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของชาวน่านกำเนิดมาจากพญานาค อีกประการหนึ่งมีความเชื่อว่าพญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร ดังนั้นการทำเรือแข่งเป็นรูปพญานาคจึงเป็นการบูชาคุณพญานาคเจ้าแห่งน้ำ และบรรพบุรุษของตนเอง

พิธีกรรม
พิธีกรรมในการแข่งเรือมีมากมายหลายขั้นตอน ตั้งแต่การหาไม้เพื่อขุดเรือ การทำพิธีก่อนโค่นต้นไม้ก่อนขุดเรือ ก่อนนำเรือลงน้ำ และตอนแข่งขัน ผู้ที่ทำพิธี ได้แก่ พ่ออาจารย์ หรืออาจารย์วัดซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับภูตผี

สาระสำคัญ
การแข่งเรือเป็นประเพณีที่เนื่องด้วยการทำบุญในพุทธศาสนา คือ การทานก๋วยสลาก และการทอดกฐิน แสดงถึงความสามัคคีของชุมชน นอกจากนี้กลวิธีในการเอาชนะคู่ต่อสู้ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่งที่ควรสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป

ประเพณีไทย ทานขันข้าว


ประเพณีไทย ทานขันข้าว

จังหวัด ลำปาง



ช่วงเวลา 
เทศกาลสงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา

ความสำคัญ 
ประเพณีทานขันข้าว  คือ ประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ไปแล้ว เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงความกตัญญูอีกแบบหนึ่งของชาวไทย โดยนำสำรับกับข้าวไปถวายวัดในวันเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษาและออกพรรษา หรือทำบุญอุทิศส่วนกุศลในโอกาสอื่นๆ 

พิธีกรรม 
ก่อนวันทำบุญ มีการจัดเตรียมอาหาร หวาน คาว นำเอาใบตองมาเย็บทำสวย (กรวย) สำหรับใส่ดอกไม้ ธูป และเตรียมขวดน้ำหยาด (สำหรับกรวดน้ำ) 

รุ่งขึ้นอันเป็นวันทำบุญ เวลาประมาณ ๖.๓๐-๘.๐๐ น. ทุกครัวเรือนเตรียมอุ่นอาหารและบรรจุใส่ปิ่นโต พร้อมทั้งสวยดอกไม้และน้ำหยาด บางบ้านอาจเขียนชื่อผู้ที่ตนต้องการจะ ทานไปหา (อุทิศส่วนกุศลไปให้) ลงในกระดาษ จากนั้นคนในครอบครัวจะช่วยกันหิ้วปิ่นโตไปวัด 

วัดจะจัดสถานที่สำหรับให้ศรัทธาชาวบ้านนำปิ่นโตมาถวาย การประเคนปิ่นโต มักจะเอาสวยดอกไม้เสียบไปพร้อมกับปิ่นโต บ้านที่มีกระดาษจดรายชื่อผู้ที่จะทำบุญไปให้ก็จะเอากระดาษเหน็บติดไปกับปิ่นโตด้วย พร้อมกันนั้นก็เทน้ำหยาดจากขวดใส่ลงในขันที่วางอยู่หน้าพระสงฆ์ 

เมื่อศรัทธาชาวบ้านมากันพอสมควรแล้ว พระสงฆ์ก็จะมีโวหารกล่าวนำการทำบุญ และให้พรดังนี้ 
- แสดงความชื่นชมที่ศรัทธาชาวบ้านได้ช่วยกันรักษาจารีตแต่โบราณ 

- กล่าวถึงผู้รับของทาน พระสงฆ์อ่านชื่อผู้วายชนม์ตามที่ศรัทธาเขียนมาในแผ่นกระดาษ ส่วนบางคนที่ไม่ได้เขียนมา ก็จะเอ่ยว่าการทานครั้งนี้มีไปถึง บรรพบุรุษ เจ้ากรรมนายเวร เทวบุตร เทวดา แม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง สรรพสัตว์ ฯลฯ 

- กล่าวให้มารับของทาน มารับเอาทานครั้งนี้ หากมารับไม่ได้ ให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้นำไปให้ 
- อวยพรให้แก่ผู้มาทำบุญ ทานขันข้าว 

- กล่าวยถา สัพพี 
ในการให้พรนั้นหลังจากจบคำว่า อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ศรัทธาชาวบ้านจะกล่าวสาธุพร้อมกัน จากนั้นจึงรับเอาปิ่นโตไปให้สามเณรหรือเจ้าหน้าที่จัดการเทอาหารออก เป็นอันเสร็จพิธีทาน 

สาระ 
การทานขันข้าว นอกจากจะเป็นการทำบุญ ที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษแล้ว การประกอบอาหารก็ดี การไปทำบุญร่วมกันที่วัดก็ดี เป็นกิจกรรมที่ทำให้ครอบครัวเกิดความรัก ความอบอุ่น ประการสำคัญ การพาเด็ก ๆ ไปทานขันข้าวที่วัด นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการทำบุญแล้ว ยังเป็นการสืบทอดในเรื่องความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยไม่ต้องใช้วิธีอบรมสั่งสอน แต่เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่ได้ปฏิบัติตนให้ลูกหลานได้เห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นวิธีสืบทอดหรือการสอนที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการพูดแต่อย่างใด


ประเพณีไทย ปอยส่างลอง



ประเพณีไทย ปอยส่างลอง

จังหวัด แม่ฮ่องสอน

ช่วงเวลา
ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา ๓-๗ วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน ๓ วัน

ความสำคัญ
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ ๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

พิธีกรรม 
มี ๒ วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบที่เรียกว่า ส่างลอง
๑. แบบข่ามดิบเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร
๒. แบบส่างลอง เป็นวิธีที่จัดงานกันใหญ่โตนิยมกันมากแบ่งวันจัดงานเป็น ๓ วัน คือ
วันแรก เรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดส่างลอง คล้ายเจ้าชายไทยใหญ่รับศีล นำส่างลองแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันและนำส่างลองกลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ
วันที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอบเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและส่างลองไปที่วัด เลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ส่างลองด้วย
วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา และอาจมีจุดบั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย

สาระ 
๑. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๒. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป
๓. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๔. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
๕. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๖. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป
๗. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

ประเพณีไทย บุญบั้งไฟ



ประเพณีบุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี

ภาพ:Bangfai_1.jpg

ภาพ:Bangfai_16.jpg

ภาพ:Bangfai_17.jpg

ภาพ:Bangfai_22.jpg

ภาพ:Bangfai_13.jpg

ภาพ:Bangfai_6.jpg

ภาพ:Bangfai_5.jpg

ภาพ:Bangfai_2.jpg

ภาพ:Bangfai_8.jpg


ภาพ:Bangfai_7.jpg

ภาพ:Bangfai_4.jpg


ภาพ:Bangfai_9.jpg

ภาพ:Bangfai_14.jpg

ภาพ:Bangfai_18.jpg

ประเพณีบุญบั้งไฟ ขบวนแห่บั้งไฟ รายละเอียด ชื่อเป็นทางการ ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเวลา เดือนพฤษภาคมของทุกปี สถานที่จัด ภาคอีสานของไทย และ ลาว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ 



จังหวัด ยโสธร

ช่วงเวลา
เดือนพฤษภาคม

ความสำคัญ
ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

พิธีกรรม 
๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้)
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง

สาระ
๑. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
๒. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
๓. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
๔. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร

ประเพณีไทยภาคใต้ ลากพระหรือชักพระ



ชื่อ
ลากพระหรือชักพระ
ภาคภาคใต้
จังหวัดปัตตานี

ช่วงเวลา วันออกพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑)
ความสำคัญ
เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนา กระทำกันหลังวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา ๑ วัน คือตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า "พนมพระ" แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทาง หรือในลำน้ำ แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะสม ซึ่งชาวใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาหลายจังหวัดจะมีประเพณีนี้
ประเพณีลากพระของชาวใต้มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่น ๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย การประชันโพนหรือแข่งโพน กีฬาซัดต้ม การทำต้มย่าง การเล่นเพลงเรือ เป็นต้น นอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ นำความสุขสงบมาให้สังคม

พิธีกรรม
เมื่อเดือน ๙ ผ่านไป หลายวัดที่ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะร่วมประเพณีลากพระในเดือน ๑๑ ก็เริ่มเตรียมการหุ้มโพนเพื่อใช้ "คุมโพน" (ประโคมล่วงหน้า) และใช้ประโคมในวันพิธี รวมทั้งให้ชาวบ้านนำไปประชันหรือแข่งขันกับวัดอื่น ๆ การหุ้มโพนมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนทั้งในขุดและขึงหนังตึงเต็มที่ โดยใช้เวลานานแรมเดือนบางวัดมีพิธีไสยศาสตร์ประกอบด้วย แต่ละวัดจะต้องมีโพน ๒ ใบ ให้เสียงทุ้ม ๑ ใบ เสียงแหลม ๑ ใบ วัดไหนมีโพนเสียงดีแข่งขันชนะชาวบ้านก็พลอยได้หน้าชื่นชมยินดีกันไปนานแรมปี
เมื่อใกล้วันลากพระ ประมาณ ๗ หรือ ๓ วัน ทุกวัดที่จะทำการลากพระก็จะเริ่มคุมโพน (ตีประโคม) เพื่อปลุกใจชาวบ้านให้กระตือรือร้นร่วมพิธีลากพระและอาจนำไปท้าทายแข่งขันกับวัดใกล้เคียง พร้อมกันนั้นภิกษุสามเณรและอุบาสกที่มีฝีมือทางช่างก็ช่วยกันตกแต่งเรือพระและพนมพระ (บุษบก) ซึ่งต้องทำกันสุดฝีมือ ทางช่างก็ช่วยกันตกแต่งเรือพระและพนมพระ (บุษบก) ซึ่งต้องทำกันสุดฝีมือ สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปประดิษฐาน ถ้าลากทางน้ำเรียกว่า "เรือพระน้ำ" ซึ่งจะใช้เรือจริง ๆ มาประดิษฐ์ตกแต่งถ้าลากพระทางบกเรียกว่า "เรือพระบก" และจะใช้รถหรือล้อเลื่อนประดิษฐ์ตกแต่งให้เป็นรูปเรือ เรือพระน้ำจะใช้เรือสำปั้นหรือเรือสำหรับลากจูง ขนาดบรรทุกความจุประมาณ ๓-๕ เกวียน สมัยก่อนนิยมใช้เรือ ๒-๓ ลำ ผูกขนานกัน ปัจจุบันใช้เพียงลำเดียวเพราะหาเรือยาก
ถ้าเป็นเรือพระบก โบราณจะทำเป็นรูปเรือให้คล้ายกับเรือจริงมากที่สุด แต่ต้องพยายามให้มีน้ำน้อย จึงมักใช้ไม้ไผ่สานหรือเสื่อกระจูดมาตกแต่งตรงส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือ การตกแต่งเรือพระบกมักแต่งหัวเรือและท้ายเรือเป็นรูปพญานาค อาจทำเป็นพญานาค ๕ ตัว หรือ ๗ ตัว ใช้กระดาษสีเงิน สีทอง หรือกระดาษสีสะท้อนแสงฉลุลวดลายสวยงามทำเป็นเกล็ดนาค สะท้อนแสงระยิบระยับไปทั้งลำ
ส่วนสำคัญที่สุดของเรือคือ บุษบกจะบรรจงตกแต่งกันอย่างสุดฝีมือ หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นแบบจตุรมุขหรือจตุรมุขซ้อน รูปทรงชะลูด งามสง่าสะดุดตาตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา ตัวลำยอง กระจัง ฐานพระ บัวปลายเสา คันทวย เป็นต้น เสาบุษบกมีลายแทงหยวก หรือใช้กระดาษสีหรือฉลุลวดลายปิดอย่างประณีตบรรจงงดงามอย่างได้สัดส่วน ยอดบุษบกจะเรียวชะลูด ปลายสุด มักใช้ลูกแก้วฝังหรือติดไว้ เมื่อต้องแสงแดดจะทอแสงระยิบระยับ
จากปลายบุษบกจะมีธงทำด้วยผ้าหลากสี ผู้ห้อยโยงไปยังส่วนต่าง ๆ ของประทุน หัวและท้าย นอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังช่วยพยุงให้บุษบกทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง
พระพุทธรูปที่นำมาประดิษฐานประจำเรือพระเรียกว่า "พระลาก" ซึ่งแต่ละวัดจะมีพระประจำวัด เป็นพระพุทธรูปปางคันธารราษฎร์ (ปางขอฝน) เพราะชาวใต้เชื่อว่าการลากพระนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีความเชือกันว่าขณะที่ลากพระนั้นถ้ามีใครแอบเอาเศษไม้ไปสอดไว้ที่ฐานพระลากจะก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นระหว่างผู้ที่ลากพระด้วยกัน จึงต้องคอยระวังดูแลอย่างใกล้ชิด
อีกส่วนหนึ่งที่เรือพระจะขาดเสียไม่ได้คือ ที่สำหรับแขวนต้มบูชาพระ เพราะพุทธศาสนิกชนทุกครัวเรือนจะพยายามนำต้มไปแขวนบูชาพระลากตามคติความเชื่อให้ครบถ้วนเท่าจำนวนพระ (ซึ่งจะเท่ากับจำนวนวัดที่ลากพระ)
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่คู่เคียงกับประเพณีชักพระคือ ข้าวต้ม ดังนั้น ก่อนวันลากพระจะมาถึง ๑-๒ วัน ชาวบ้านจะสาละวนอยู่กับการแทงต้ม ซึ่งเริ่มจากการเตรียมหายอดกระพ้อ นำข้าวสารเหนียวมาแช่ให้อิ่มตัวแล้วผัดด้วยกะทิให้เกือบสุก (บางรายนิยมแทรกด้วยถั่ว เรียกว่า "ต้มใส่ถั่ว") ซึ่งต้องต้มถั่วเหลืองหรือถั่วดำให้สุกเสียก่อน เมื่อผัดข้าวเหนียวเข้ากับกะทิจนเกือบจะได้ที่แล้ว จึงค่อยผสมถั่วคลุกเคล้าลงไปให้เข้ากันดี แล้วตักใส่ภาชนะวางทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาห่อด้วยใบกระพ้อ ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายฝักกระจับ แต่ละลูกจะมีขนาดโตประมาณกิน ๒-๓ คำ การก่อตัวต้องรู้วิธีม้วนขอดปลายใบกระพ้อขึ้นรูปเป็นมุมแรกสำหรับยัดข้าวเหนียวใส่ รู้วิธีการพันห่อ การสอดซ่อนปลายโคนใบและดึงปลายเพื่อให้รัดแน่นได้รูปทรงสามเหลี่ยมสวยงาม เรียกวิธีการห่อต้มว่า "แทงต้ม" เมื่อแทงต้มเสร็จแล้วจึงนำไปต้มจนน้ำแห้งขอด จะได้ต้มที่สุกเหนียว 
หอม อร่อย บางคนอาจใช้วิธีการนึ่งได้
เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บรรดาชาวบ้าน อุบาสก อุบาสิกาจะพร้อมกันอัญเชิญพพระพุทธรูปสำหรับใช้เป็นพระลากมาทำพิธีสรงน้ำ ขัดถูก ซึ่งจะใช้มะขามเปียก มะเฟือง หรือส้มอื่น ๆ เพื่อให้แลดูสวยงาม เปลี่ยนผ้าทรงและสมโภช ในคืนนั้น จะต้องเร่งรีบเตรียมเรือพระให้เสร็จสิ้นพร้อมสรรพทุกประการ

สาระ
เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จะอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้งหมดขึ้นนั่งประจำเรือพระ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตามและประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วยต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบกก็จะใช้คนเดินลากแล้วแต่กรณี

ขณะที่ลากเรือพระไปใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียงไปชุมนุมในที่เดียวกันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส "แขวนต้ม" และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรได้ทั่วทุกวัดหรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย เช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่าง ๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัวสวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดี มีการแข่ง

ขันตีโพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลง ลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และบางทีก็มีกิจกรรมแปลก ๆ เช่น กีฬาซัดต้ม
การประกวดเรือพระสมัยก่อนมักให้รางวัลเป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กาน้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็นเงินสด

สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (บ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กาโผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอหนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมายปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชมตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำเภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาวไทยพุทธ

ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชาย ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามูสู่บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่กิ่งไพศาลริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือพระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้วมีการแข่ง ขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประเพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ

ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่งต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือเพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ "นมพระ" ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็นจตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ มีการตั้งหีบรับเงินอนุโมทนา ติดตั้งเครื่องขยายเสียง ชักชวนให้มีการทำบุญหรือเรี่ยไร ประชาชนหันมานิยมซื้อต้มจากตลาดแทนการทำเอามากขึ้น ปรากฏการณ์หลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจะดีหรือไม่คงไม่มีใครตอบได้ ขอให้ท่านพิจารณาไตร่ตรองเอาเองตามสมควรเถิด

ประเพณีไทย การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ)


ชื่อ
การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ)
ภาคภาคใต้
จังหวัดยะลา
ช่วงเวลา ตรงกับวันที่ ๑๐ เดือนมุฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีของศาสนาอิสลาม (ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี)

ความเป็นมา
ความเป็นมาของการกวนข้าวอาซูรอ หรือกวนขนมอาซูรอสืบเนื่องจากได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยนบีนุฮ (อล) ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นาของประชาชนและสาวกของนบีนุฮ (อล) และคนทั่วไปอดอาหาร นบีนุฮ (อล) จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน และให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานอาหารกันโดยทั่วหน้า

ความสำคัญ
ประเพณีไทย ารกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน

พิธีกรรม
การกวนข้าวอาซูรอเริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมายชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบ เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เป็นต้น มารวมเข้าด้วยกันแล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ เป็นต้น มาเป็นเครื่องผสมโดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะน้ำมาผสม
วิธีกวน นำกะทะใบใหญ่ตั้งไฟ มีไม้พายสำหรับคนขนมอาซูรอ หลังจากตั้งกะทะบนเตา คั้นน้ำกะทิใส่ลงไป ตำหรือบดเครื่องแกงหยาบ ๆ ใส่ลงในน้ำกะทิ เมื่อกะทิเดือดใส่อาหารดิบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว คนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ย กวนต่อไปจนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อแห้งได้ที่แล้วตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียวหั่นบาง ๆ หรืออาจโรยหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่นฝอย แล้วแต่รสนิยมของท้องถิ่น แล้วตัดเป็นชิ้น ๆ แจกจ่ายกันรับประทาน

หมายเหตุ : เนื้อสมัน ปลาสมัน คือ ปลา หรือเนื้อวัว ที่ต้มเคี่ยวด้วยเครื่องแกงจนแห้ง ใช้ทัพพีขยี้จนเนื้อเหล่านั้นเป็นผงฝอย แล้วนำไปโรยหน้าขนมอาซูรอ ถ้าเป็นชนิดหวานมีส่วนผสมเหมือนอาซูรอชนิดคาว แต่งใส่เครื่องเทศ และอาหารจำพวกเนื้อ เพิ่มน้ำตาลให้มากขึ้นและไม่ต้องโรยหน้า