วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


วันพืชมงคล  (อังกฤษ: Royal Ploughing Ceremony) เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีนี้กระทำที่ท้องสนามหลวง

ทางราชการกำหนดให้วันพืชมงคลเป็นวันเกษตรกร และกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ยกเว้นธนาคารและบริษัทเอกชนบางแห่งไม่หยุดทำการ วันพืชมงคลจะไม่ตรงกับวันเดิมตามสุริยคติหรือจันทรคติของทุกปี แต่สำนักพระราชวังจะเป็นผู้ประกาศวันพืชมงคล ให้เป็นวันใดวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม แล้วแต่ในแต่ละปี



พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 
เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใดๆ จึงว่างเว้นไป ๑๐ ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง ๒๓ ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญ ร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นที่พระราชพิธีมีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน แต่จะมอบอาญาสิทธิให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา 

ต่อมา สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญแทนพระองค์ และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง เว้นแต่เมื่อมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร สถานที่ประกอบพิธีในตอนแรก ๆ จึงไม่ตายตัว แล้วแต่จะทรงกำหนดให้ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น "พระราชพิธีพืชมงคล" จึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" 

ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่าง ตามที่ทรงจำแนกไว้ 3 อย่าง 2 อย่างแรก ที่ว่า "อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง" นั้น ทรงหมายถึง "พิธีพืชมงคล" อันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า "บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง" นั้น ทรงหมายถึงพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ 

ดังนั้น จึงพอจะสรุปความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นี้ได้ว่าพิธีแรกนามุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา อันเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของคนไทยที่มีมาแต่ช้านานสืบมาจนปัจจุบันยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนาเป็นหลักนั้น เป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศทุกสมัย 

ส่วนวันประกอบพิธีนั้น ต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนา เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวง ที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี และได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งนาพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ทั้งนี้ วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ 1 วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ 

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์



จังหวัด ชัยนาท
ช่วงเวลา
วันที่ ๔ ธันวาคม ของทุกปี ณ หมู่บ้านหนองพังนาค ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ชาวบ้านจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธจนเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญ
ามประวัติสมัยพุทธกาล เชื่อว่านางสุชาดา ได้นำข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธถวายพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ดังนั้นชาวพุทธจึงถือว่าข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธเป็นอาหารทิพย์ และได้ทำถวายแด่พระสงฆ์ในฤดูก่อนเดือนสิบสอง

พิธีกรรม
นื่องจากวัสดุที่สำคัญในการทำข้าวทิพย์ คือน้ำข้าวจากต้นข้าวที่กำลังเป็นน้ำนม ใน ประเทศไทยเชื่อกันว่ามีหลายจังหวัดที่ทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานถึงปัจจุบัน แต่สำหรับจังหวัดชัยนาทมีทำกันตลอดที่ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ทำกันแทบทุกหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันทำกันตลอดมาทุกปีจนถือเป็นประเพณีที่หมู่บ้านหนองพังนาค

สาระ 
ระเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในกลุ่มชนในอันที่จะร่วมกันนำเอาวัสดุข้าวของต่าง ๆ มาร่วมทำบุญ เมื่อเสร็จและถวายเป็นพุทธบูชาก็แบ่งปันกันไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย


จังหวัด ชลบุรี
ช่วงเวลา
นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี 

ความสำคัญ
ระเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ 
พิธีกรรม 

ระเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย 

สาระ 
สดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด 

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีงานเสด็จพระแข่งเรือ

ประเพณีงานเสด็จพระแข่งเรือ



จังหวัด ระนอง
ช่วงเวลา
านเสด็จพระแข่งเรือเป็นงานประเพณีที่สำคัญของอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ซึ่งจัดขึ้นในช่วงออกพรรษของทุกปี ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ณ บริเวณแม่น้ำกระบุรี ในช่วงคอคอดกระ
ความสำคัญ
ป็นประเพณีที่ชาวอำเภอกระบุรีจะร่วมกันตกแต่งเรืออย่างสวยงาม เพื่อไปพายกันในแม่น้ำกระบุรี มีการประกวดเรือประเภทต่าง ๆ งานเสด็จพระแข่งเรือจัดขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยสืบทอดประเพณีมาจากทางใต้ 

พิธีกรรม 

๑. นำเรือมาตกแต่งให้สวยงามทำเป็นเรือพระ โดยจัดทำพนมพระอยู่กลางลำเรือ
๒. อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพนมพระกลางลำเรือแล้วจัดสมโภชพระพุทธรูปกลางน้ำ
๓. หลังจากสมโภชพระพุทธรูปกลางน้ำแล้ว จะมีการแห่เรือพระไปตามลำน้ำกระบุรีซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า
๔. การร้องเพลงเรือโดยเรือชาวบ้านมีการร้องเพลงเรือกันอย่างสนุกสนาน และมีการประกวดเพลงเรือด้วย
๕. มีการแข่งขันเรือประเภทต่างๆ เช่น ประกวดเรือยาว ประเภทสวยงาม ประเภทความคิดและประเภทตลกขบขัน

สาระ 
ป็นประเพณีที่รวมความสามัคคีของชาวอำเภอกระบุรี ประชาชนที่ไปอยู่ในต่างถิ่นจะเดินทางกลับบ้านมาร่วมงานกันอย่างล้นหลาม สามารถสร้างความรักและผูกพันกับท้องถิ่นได้อย่างดี ประชาชนในจังหวัดใกล้เคียงและชาวพม่าต่างสนใจมาร่วมงานเสด็จพระแข่งเรือจำนวนมากเป็นประจำทุกปี 

ประเพณีกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้า



จังหวัด สระบุรี
ช่วงเวลา
วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยพวน
ความสำคัญ
กําฟ้า หมายถึง การนับถือฟ้า งานบุญกำฟ้าจึงเป็นงานบุญที่มีความเชื่อว่า เมื่อได้ประกอบพิธีกรรมและขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟ้าแล้ว เทวดาจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีความป็นสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น 

พิธีกรรม 

วันสุกดิบ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ทุกคนในบ้านจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) น้ำพริก น้ำยา และทำข้าวจี่ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นทำข้าวหลามแทน และเวลาประมาณบ่าย ๓ โมง นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้วพราหมณ์จะสวดบูชาเทพยดา เปิดบายศรี และอ่านประกาศอัญเชิญเทวดาให้มารับเครื่องสังเวยและในคืนวันสุกดิบ คือคนเฒ่าคนแก่ในบ้านจะเอาไม้ไปเคาะที่เตาไฟแล้วกล่าวคำเป็นมงคลในทำนองขอให้เทพยดาปกป้องรักษา
วันกำฟ้าตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ทุกคนจะตื่นแต่เช้าตรู่ เตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระ โดยใส่บาตรข้าวหลามและข้าวจี่ หลังจากการถวายอาหารแด่พระสงฆ์แล้วจะมีการรับประทานอาหารร่วมกันและ เล่นกีฬาพื้นบ้าน หรือการละเล่นพื้นเมือง เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย เพื่อสร้างความสนุกสนานให้แก่หนุ่มสาวด้วย ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง โดยเชื่อว่า
๑. ถ้าฟ้าร้องทางทิศเหนือ หรือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะดี ทำนาได้ผลดี
๒. ถ้าฟ้าร้องทางทิศใต้ และทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะแล้ง การทำนาจะเสียหาย ข้าวจะยาก หมากจะแพง
๓. ถ้าฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ฝนตกปานกลาง นาลุ่มจะดี นาดอนจะเสียหาย


สาระ 
พื่อความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีกินผัก

ประเพณีกินผัก



จังหวัด พังงา
ช่วงเวลา
ระกอบพิธี ๙ วัน ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ตรงกับเดือน ๑๑ ของไทย)
ความสำคัญ
กินผักภาษาจีนเรียกว่า "เก้าอ็วงเจ" หรือ "กิวอ็วงเจ" เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของคนไทยที่มีเชื้อสายจีนทางฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดพังงาในเขตอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง แต่เดิมผู้คนกินผักมักมีเชื้อสายฮกเกี้ยน แต่ในปัจจุบันแพร่หลายไปยังกลุ่มอื่น ๆ
ด้านคุณค่าของพิธีกินผักนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคร้ายจากตัวผู้กินผัก แล้วยังเป็นการแสดงออกถึงการเคารพบรรพบุรุษและเป็นการฝึกจิตใจของผู้กินผักให้บริสุทธิ์ได้รักษาศีลอีกทั้งยังเหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันด้วย เพราะเป็นช่วงที่ได้ประหยัดการใช้จ่าย งดการเที่ยวเตร่ อาหารผักก็ราคาถูกกว่า และสุดท้ายยังก่อให้เกิดความสามัคคี เพราะว่าผู้ที่ร่วมกินเจไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจนจะไปร่วมในพิธีกันอย่างพร้อมเพรียงด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทักทายกันด้วยดี ด้วยเหตุนี้จำนวนผู้ที่เข้าร่วมกินผัก อย่างเช่น ในจังหวัดพังงาจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อันแสดงให้เห็นว่าประเพณีกินผักจะคงอยู่สืบทอดต่อไปอีกนาน 

พิธีกรรม 
ารประกอบพิธีกรรมกินผัก ก่อนพิธี ๑ วัน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า รมกำยานไม้หอม และมีการยกเสาธงไว้หน้าศาลเจ้า สำหรับอันเชิญดวงวิญญาณของเจ้า เที่ยงคืนก็ประกอบพิธีอัญเชิญยกอ๋องฮ่องเต้ (พระอิศวร) และกิ๋วอ๋องไตเต หรือกิวอ่องฮุดโจ้ว (ผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๙) มาเป็นประธานในพิธี จากนั้นก็แขวนตะเกียงน้ำมัน ๙ ดวง อันเป็นสัญลักษณ์ของดวงวิญญาณกิ๋วอ๋องไตเต ไว้บนเสาธง อันเป็นการแสดงว่าพิธีกินผักเริ่มขึ้นแล้ว
การใช้ตะเกียงน้ำมัน ๙ ดวง ก็เพื่อให้หมายถึงดวงวิญญาณของกิ๋วอ๋องไตเต หรือ เก้าอ๊วงไตเต คำว่า "เก้าอ๊วงไตเต" หรือกิ๋วอ๋อง แปลว่า นพราชา ตามตำราโหราศาสตร์จีน ก็หมายถึงดาวนพเคราะห์ โดยเชื่อกันว่าดาวเคราะห์ ๙ ดวงนี้ เกิดจากการแบ่งภาคของเทพเจ้า ๙ องค์ ซึ่งทรงอำนาจมาก บริหารธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุทอง เทพเจ้าทั้ง ๙ นี้ เกิดจากการแบ่งภาคของอดีตพระพุทธเจ้า ๗ องค์ กับพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ องค์ เทพเจ้าแห่งดาวนพเคราะห์นี้มีคุณแก่โลกมาก เพราะธาตุทั้งหลายที่พระองค์ประทานให้เป็นของจำเป็นในสรรพสังขาร์
หลังจากทำพิธีรับเจ้ามาเป็นประธานในศาลแล้วก็ทำพิธีวางกำลังทหารรักษาการตามทิศเรียกว่า พิธี "ปังเอี้ย" หรือ ปั้งกุ๊น" พิธีนี้จะใช้ธงสีต่าง ไปปักเป็นสัญลักษณ์การวางกำลังทหาร ถือเอาสมัยซ้องคือการวางกำลังทำทิศ
ในช่วงเวลาทำพิธี ๙ วัน จะมีพิธีย่อย ๆ หลายอย่างได้แก่
๑. พิธีบูชาเจ้า ในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาเจ้าด้วยเครื่องเซ่น และตามบ้านของผู้กินผัก เมื่อกินผักได้ครบ ๓ วัน จะถือว่าผู้นั้นสะอาดบริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า "เช้ง" ตอนนี้จะมีการทำพิธีเชิญเจ้า ๒ องค์ มาร่วมพิธี องค์แรกเป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้มาเกิดชื่อ "ล้ำเต้า" อีกองค์เป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้ตายไปชื่อ "ปักเต้า"
๒. พิธีโขกุ้น หมายถึงการเลี้ยงทหาร ซึงทำพิธีในวัน ๓ ค่ำ ๖ ค่ำ และ ๙ ค่ำ หลังเที่ยงเมื่อเริ่มพิธีต้องมีการเตรียมอาหาร และเหล้าสำหรับเซ่นสังเวย เลี้ยงทหารและมีหญ้าหรือพวกถั่ว เพื่อเป็นอาหารของม้า หรือเมื่อเสร็จพิธีแล้วตอนกลางคืนจะเรียกตรวจพลทหารตามทิศเรียกว่า "เซี่ยมเมี้ย"
๓. พิธีซ้องเก็ง เป็นการสวดมนต์โดยจะเริ่มทำการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิวอ๋องไตเต หนือกิวอ๋องฮุดโจ้วเข้ามาประทับในโรงพระ และจัดทำพิธีสวดวันละ ๒ ครั้ง ในตอนเช้าและตอนย่ำค่ำ เป็นลักษณะการสวดมนต์เช้า และสวดมนต์เย็น โดยเฉพาะกลางคืน หลังจากสวดมนต์ซึ่งใช้บทสวดคือ ปักเต้าเก็ง ก็จะมีการ "ตักซ้อ" คืออ่านรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมกินเจ ซึ่งอ่านต่อหน้าแท่นบูชา เป็นลักษณะการเบิกตัวเข้าเฝ้า
๑. พิธีบูชาดาว จะทำในคืนวัน ๗ ค่ำ เพื่อขอให้ช่วยคุ้มครองผู้กินผัก
๒. พระออกเที่ยว หรือการแห่เจ้า เป็นการออกเพื่อโปรดสัตว์ออกเยี่ยมประชาชนเคารพนับถือ โดยจะมีขบวนธงและป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นก็จะเป็นการเกี้ยวหามพระเรียกว่า "ถ้วยเปี๊ย" โดยจะหามรูปพระบูชาต่าง ๆ ออกนั่งเกี้ยวไป ซึ่งจะจัดตามชั้น และยศของพระ เช่น จากสิญูขึ้นไปก็เป็นง่วนโส่ย สูงไปอีกก็เป็นไต่เต้ สูงขึ้นไปเป็นฮุด จากนั้นจะเป็นขบวนเกี้ยวใหญ่ ซึ่งมักจะใช้คน ๘ คน และมีฉัตรจีนกั้นไปด้วย จะเป็นที่ประทับของกิวอ๋องฮุดโจ้ว ในขณะที่ขบวนแห่ผ่านไป ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้าน และจุดประทัดต้อนรับขบวนเมื่อผ่านไปถึง
๓. การลุยไฟ กองไฟถือว่าเป็นกองไฟศักดิ์สิทธิ์ ในแง่ความศักดิ์สิทธิ์เป็นการแสดงถึงอิทธิฤทธิ์ที่บังคับไฟไม่ให้ร้อนหรืออาจจะถือว่าเป็นไฟทิพย์ ใช้ชำระความสกปรกของร่างกายให้บริสุทธิ์โดยลุยทั้งคนทรงเจ้าที่กำลังประทับทรง หรือประชาชนโดยทั่วไปก็ได้
๔. พิธีส่งพระ ทำในวันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก โดยตอนกลางวันจะมีการส่งเทวดา มักจะส่งกันที่หน้าเสาธง ส่วนตอนกลางคืนจะมีการส่งพระกิวอ๋องฮุดโจ้วกลับสวรรค์ โดยส่งกลับทางทะเล เมื่อขบวนส่งออกพ้นประตู ไฟทุกดวงในโรงพระต้องดับสนิทหมดแล้ว ตะเกียงที่เสาธงจะถูกดึงขึ้นสูงสุดตอนเช้าของวันแรก หลังจากเสร็จงานกินผักจะมีการลงเสาธง และเรียกกำลังทหารกลับ หลังจากที่เลี้ยงทหารเสร็จแล้ว จากนั้นก็เปิดประตูใหญ่ เมื่อได้ฤกษ์เปิดตามวันในปฏิทิน หรือตามที่เจ้าสั่งไว้ 


สาระ 
ระเพณีกินผักเชื่อกันว่าเริ่มขึ้นที่ประเทศจีน ชาวเมืองทั้งหลายในประเทศจีนประกอบพิธีกินผักขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติอีกทั้งเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์และระลึกถึงดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ตนเคารพให้ช่วยปกป้องคุ้มครองด้วย ชาวจีนในพังงาจึงจัดพิธีกรรมกินผักเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีกินผักในจังหวัดพังงา โดยเฉพาะที่อำเภอตะกั่วป่า เริ่มขึ้นในการทำพิธีกินผัก ผู้คนที่ร่วมพิธีจะล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบอาหารจนสะอาดหมดกลิ่นคาว บ้างก็ใช้ภาชนะชุดใหม่ในการประกอบอาหารหรือใส่อาหารผัก บ้างก็ไปรับประทานอาหารที่โรงครัว ในช่วงกินผักนี้ผู้ที่เคร่งครัดในพิธีจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวตลอดทั้ง ๙ วัน โรงครัวของศาลเจ้าจะรับภาระหนักมากในเรื่องการประกอบอาหารให้กับผู้ที่ร่วมกินผัก ผู้ใดที่ประสงค์จะรับอาหารจากศาลเจ้าต้องไปลงชื่อแจ้งความประสงค์บอกจำนวนบุคคลในบ้านที่ร่วมกินผัก และจำนวนวัน เพื่อว่าโรงครัวจะได้จัดเตรียมอาหารได้เพียงพอ เมื่อถึงเวลาอาหารจะนำปิ่นโตตักอาหารไปรับประทานที่บ้าน และเนื่องจากจำนวนของผู้ร่วมกินผักมีมากทางโรงครัวจึงต้องหาอาสาสมัครมาช่วยงานครัวเป็นจำนวนมาก สำหรับอาหารและค่าใช้จ่ายในโรงครัวนั้นได้รับบริจาคจากผู้มีใจศรัทธา และบุคคลทั่วไป และจากผู้เข้าร่วมกินเจ อาหารที่โรงครัว จัดทำมีทั้งผัด แกงจืด และแกงเผ็ด ซึ่งปราศจากไข่ และเนื้อสัตว์ นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ ศาลเจ้าก็จะมีแม่ค้าทำอาหารผักนานาชนิดมาจำหน่าย การประกอบพิธีสำคัญ ๆ ในช่วง ๙ วันนี้ จะมีการทรงเจ้าโดยอัญเชิญเจ้าต่าง ๆ มาประทับทรงในร่างของม้าทรงนั้น คือผู้ที่ชะตากำลังจะดับ ก็จะเข้าร่างประทับทรง เพื่อต่ออายุให้ หรือบุคคลที่เหมาะสม และสมัครใจจะเป็นม้าทรง เจ้าก็จะเข้าประทับทรงเช่นกัน ในระยะที่มีการประกอบพิธีต่างๆ หรือในกรณีที่มีการแห่ขบวนไปม้าทรงจะแสดงอิทธิฤกษ์ ฟาดฟันอาวุธไปตามร่างกายของตนเอง บ้างเอาเหล็กแหลมทิ่มแทงลิ้น แก้ม แขน ขา มีการขึ้นบันได มีดแหลมคมก็มิได้ปรากฏบาดแผลให้เห็นเลย ภาษาที่ม้าทรงพูดขณะที่เจ้าประทับทรงก็เป็นภาษาจีนตลอด ถึงแม้ตัวม้าทรงเองจะไม่เคยรู้เรื่องภาษาจีนเลยก็ตามการที่ม้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ถือกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้แก่ผู้ที่กินผัก โดยพระเป็นผู้รับเคราะห์เสียเอง ในระหว่างการประกอบพิธีต่าง ๆ จะมีการประโคมด้วยกลอง เสียงอึกทึกมาก มีการซื้อหาประทัดเพื่อนำมาจุดในระยะของการประกอบพิธีกันมากมาย 

ประเพณีหามเริน



จังหวัด สงขลา
ช่วงเวลา
ารเคลื่อนย้ายเรือนด้วยการช่วยกันหามจากที่เก่าไปวางไว้ที่ใหม่โดยไม่ต้องรื้อถอนเรือน
ความสำคัญ
นื่องจากเรือนของชาวภาคใต้ไม่ได้ขุดหลุมเสา แต่จะวางเสาเรือนไว้บน "ตีนเสา" เมื่อเจ้าของต้องการจะเคลื่อนย้ายเรือนไปตั้ง ณ ที่ใหม่ ก็ใช้วิธีการออกปากเพื่อนบ้านมาช่วยกันหามแทนการรื้อถอน สามารถเข้าอยู่ได้ทันท

พิธีกรรม 

ก่อนที่จะมีการหามเริน เจ้าของบ้านจะต้องขนย้ายข้าวของที่วางอยู่บนบ้านนั้นออกให้หมด ถ้าเป็นบ้านมุงหลังคาด้วยกระเบื้องก็จะรื้อกระเบื้องทั้งหมดออกเสียก่อน เพื่อกันกระเบื้องแตกเสียหายและช่วยลดน้ำหนักของบ้าน หากบ้านหลังนั้นปูพื้นบ้านหรือกั้นด้วยกระดาน ก็จะรื้อไม้กั้นออกเป็นแผง ๆ หรืองัดไม้ปูพื้นออกเป็นแผ่น ๆ เพราะจะได้ประกอบกลับสู่สภาพเดิมได้สะดวกรวดเร็ว และสามารถเข้าอยู่ได้ทันที
หลังจากขนย้ายข้าวของและรื้อบ้านบางส่วนเสร็จแล้ว เจ้าของบ้านจะออกปากไหว้วานเพื่อนบ้านมาช่วยกันหามเรินตามวันเวลาที่กำหนด ถ้าบ้านหลังใหญ่มีน้ำหนักมากจะใช้ไม้กลมหรือไม้เหลี่ยมที่มั่นคงแข็งแรงและมีความยาวพอสอดทแยงเข้าใต้ถุนบ้าน แล้วผูกคาดไว้กับรอดหรือตงหรือเสาอย่างแน่นหนา ให้ปลายข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างยื่นเลยออกมาเพื่อหาม จะได้มีที่แบกหามเพิ่มขึ้น
ก่อนที่จะหามเรินไปถึงที่ตั้งใหม่ ให้นำตีนเสาวางให้ได้ที่และปรับระดับให้เรียบร้อย แล้วยกบ้านขึ้นวางไว้เหนือตีนเสานั้น เป็นการเสร็จสิ้นการหามเริน ส่วนการมุงหลังคา กั้นฝา ปูพื้น เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้านจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
การหามเริน จะเลือกทำเฉพาะกรณีที่สถานที่ที่ตั้งใหม่ไม่ห่างไกลจากที่ตั้งเดิมมากนัก และมักจะทำในหน้าแล้ง เพื่อไม่ต้องแบกหามผ่านทางที่เป็นดินโคลนดินอ่อนที่มีน้ำขัง ซึ่งจะทำให้การเดินลำบาก ถ้าหากสถานที่ตั้งใหม่อยู่ห่างไกลมักจะใช้วิธีการลากแทนการหาม 


สาระ 
ารหามเรินเป็นประเพณีของการเคลื่อนย้ายเรือนไปอยู่ที่ใหม่ในสภาพเดิมเป็นการประหยัดเวลาและวัสดุก่อสร้างในการสร้างใหม่