จังหวัด สงขลา |
ช่วงเวลา การเคลื่อนย้ายเรือนด้วยการช่วยกันหามจากที่เก่าไปวางไว้ที่ใหม่โดยไม่ต้องรื้อถอนเรือน ความสำคัญ เนื่องจากเรือนของชาวภาคใต้ไม่ได้ขุดหลุมเสา แต่จะวางเสาเรือนไว้บน "ตีนเสา" เมื่อเจ้าของต้องการจะเคลื่อนย้ายเรือนไปตั้ง ณ ที่ใหม่ ก็ใช้วิธีการออกปากเพื่อนบ้านมาช่วยกันหามแทนการรื้อถอน สามารถเข้าอยู่ได้ทันที พิธีกรรม ก่อนที่จะมีการหามเริน เจ้าของบ้านจะต้องขนย้ายข้าวของที่วางอยู่บนบ้านนั้นออกให้หมด ถ้าเป็นบ้านมุงหลังคาด้วยกระเบื้องก็จะรื้อกระเบื้องทั้งหมดออกเสียก่อน เพื่อกันกระเบื้องแตกเสียหายและช่วยลดน้ำหนักของบ้าน หากบ้านหลังนั้นปูพื้นบ้านหรือกั้นด้วยกระดาน ก็จะรื้อไม้กั้นออกเป็นแผง ๆ หรืองัดไม้ปูพื้นออกเป็นแผ่น ๆ เพราะจะได้ประกอบกลับสู่สภาพเดิมได้สะดวกรวดเร็ว และสามารถเข้าอยู่ได้ทันที หลังจากขนย้ายข้าวของและรื้อบ้านบางส่วนเสร็จแล้ว เจ้าของบ้านจะออกปากไหว้วานเพื่อนบ้านมาช่วยกันหามเรินตามวันเวลาที่กำหนด ถ้าบ้านหลังใหญ่มีน้ำหนักมากจะใช้ไม้กลมหรือไม้เหลี่ยมที่มั่นคงแข็งแรงและมีความยาวพอสอดทแยงเข้าใต้ถุนบ้าน แล้วผูกคาดไว้กับรอดหรือตงหรือเสาอย่างแน่นหนา ให้ปลายข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างยื่นเลยออกมาเพื่อหาม จะได้มีที่แบกหามเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะหามเรินไปถึงที่ตั้งใหม่ ให้นำตีนเสาวางให้ได้ที่และปรับระดับให้เรียบร้อย แล้วยกบ้านขึ้นวางไว้เหนือตีนเสานั้น เป็นการเสร็จสิ้นการหามเริน ส่วนการมุงหลังคา กั้นฝา ปูพื้น เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้านจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป การหามเริน จะเลือกทำเฉพาะกรณีที่สถานที่ที่ตั้งใหม่ไม่ห่างไกลจากที่ตั้งเดิมมากนัก และมักจะทำในหน้าแล้ง เพื่อไม่ต้องแบกหามผ่านทางที่เป็นดินโคลนดินอ่อนที่มีน้ำขัง ซึ่งจะทำให้การเดินลำบาก ถ้าหากสถานที่ตั้งใหม่อยู่ห่างไกลมักจะใช้วิธีการลากแทนการหาม สาระ การหามเรินเป็นประเพณีของการเคลื่อนย้ายเรือนไปอยู่ที่ใหม่ในสภาพเดิมเป็นการประหยัดเวลาและวัสดุก่อสร้างในการสร้างใหม่ |
แหล่งรวบรวมข้อมูลด้านประเพณี , วัฒนธรรม พิธีกรรม , ความเชื่อ , การละเล่นพื้นบ้าน , แหล่งท่องเที่ยว , แหล่งโบราณคดีของไทย พร้อมกับเรื่องราวประทับใจต่าง และ ข่าวสารที่น่าสนใจต่าง ๆ , เนื้อหาสาระน่ารู้ที่น่าสนใจ และ บริการอื่น ๆ
วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556
ประเพณีหามเริน
ป้ายกำกับ:
ประเพณี,
ประเพณีไทย,
ประเพณีหามเริน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น