วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้า



จังหวัด สระบุรี
ช่วงเวลา
วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยพวน
ความสำคัญ
กําฟ้า หมายถึง การนับถือฟ้า งานบุญกำฟ้าจึงเป็นงานบุญที่มีความเชื่อว่า เมื่อได้ประกอบพิธีกรรมและขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟ้าแล้ว เทวดาจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีความป็นสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น 

พิธีกรรม 

วันสุกดิบ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ทุกคนในบ้านจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) น้ำพริก น้ำยา และทำข้าวจี่ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นทำข้าวหลามแทน และเวลาประมาณบ่าย ๓ โมง นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้วพราหมณ์จะสวดบูชาเทพยดา เปิดบายศรี และอ่านประกาศอัญเชิญเทวดาให้มารับเครื่องสังเวยและในคืนวันสุกดิบ คือคนเฒ่าคนแก่ในบ้านจะเอาไม้ไปเคาะที่เตาไฟแล้วกล่าวคำเป็นมงคลในทำนองขอให้เทพยดาปกป้องรักษา
วันกำฟ้าตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ทุกคนจะตื่นแต่เช้าตรู่ เตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระ โดยใส่บาตรข้าวหลามและข้าวจี่ หลังจากการถวายอาหารแด่พระสงฆ์แล้วจะมีการรับประทานอาหารร่วมกันและ เล่นกีฬาพื้นบ้าน หรือการละเล่นพื้นเมือง เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย เพื่อสร้างความสนุกสนานให้แก่หนุ่มสาวด้วย ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง โดยเชื่อว่า
๑. ถ้าฟ้าร้องทางทิศเหนือ หรือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะดี ทำนาได้ผลดี
๒. ถ้าฟ้าร้องทางทิศใต้ และทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะแล้ง การทำนาจะเสียหาย ข้าวจะยาก หมากจะแพง
๓. ถ้าฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ฝนตกปานกลาง นาลุ่มจะดี นาดอนจะเสียหาย


สาระ 
พื่อความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น