วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีกินผัก

ประเพณีกินผัก



จังหวัด พังงา
ช่วงเวลา
ระกอบพิธี ๙ วัน ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ตรงกับเดือน ๑๑ ของไทย)
ความสำคัญ
กินผักภาษาจีนเรียกว่า "เก้าอ็วงเจ" หรือ "กิวอ็วงเจ" เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของคนไทยที่มีเชื้อสายจีนทางฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดพังงาในเขตอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง แต่เดิมผู้คนกินผักมักมีเชื้อสายฮกเกี้ยน แต่ในปัจจุบันแพร่หลายไปยังกลุ่มอื่น ๆ
ด้านคุณค่าของพิธีกินผักนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคร้ายจากตัวผู้กินผัก แล้วยังเป็นการแสดงออกถึงการเคารพบรรพบุรุษและเป็นการฝึกจิตใจของผู้กินผักให้บริสุทธิ์ได้รักษาศีลอีกทั้งยังเหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันด้วย เพราะเป็นช่วงที่ได้ประหยัดการใช้จ่าย งดการเที่ยวเตร่ อาหารผักก็ราคาถูกกว่า และสุดท้ายยังก่อให้เกิดความสามัคคี เพราะว่าผู้ที่ร่วมกินเจไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจนจะไปร่วมในพิธีกันอย่างพร้อมเพรียงด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทักทายกันด้วยดี ด้วยเหตุนี้จำนวนผู้ที่เข้าร่วมกินผัก อย่างเช่น ในจังหวัดพังงาจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อันแสดงให้เห็นว่าประเพณีกินผักจะคงอยู่สืบทอดต่อไปอีกนาน 

พิธีกรรม 
ารประกอบพิธีกรรมกินผัก ก่อนพิธี ๑ วัน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า รมกำยานไม้หอม และมีการยกเสาธงไว้หน้าศาลเจ้า สำหรับอันเชิญดวงวิญญาณของเจ้า เที่ยงคืนก็ประกอบพิธีอัญเชิญยกอ๋องฮ่องเต้ (พระอิศวร) และกิ๋วอ๋องไตเต หรือกิวอ่องฮุดโจ้ว (ผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๙) มาเป็นประธานในพิธี จากนั้นก็แขวนตะเกียงน้ำมัน ๙ ดวง อันเป็นสัญลักษณ์ของดวงวิญญาณกิ๋วอ๋องไตเต ไว้บนเสาธง อันเป็นการแสดงว่าพิธีกินผักเริ่มขึ้นแล้ว
การใช้ตะเกียงน้ำมัน ๙ ดวง ก็เพื่อให้หมายถึงดวงวิญญาณของกิ๋วอ๋องไตเต หรือ เก้าอ๊วงไตเต คำว่า "เก้าอ๊วงไตเต" หรือกิ๋วอ๋อง แปลว่า นพราชา ตามตำราโหราศาสตร์จีน ก็หมายถึงดาวนพเคราะห์ โดยเชื่อกันว่าดาวเคราะห์ ๙ ดวงนี้ เกิดจากการแบ่งภาคของเทพเจ้า ๙ องค์ ซึ่งทรงอำนาจมาก บริหารธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุทอง เทพเจ้าทั้ง ๙ นี้ เกิดจากการแบ่งภาคของอดีตพระพุทธเจ้า ๗ องค์ กับพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ องค์ เทพเจ้าแห่งดาวนพเคราะห์นี้มีคุณแก่โลกมาก เพราะธาตุทั้งหลายที่พระองค์ประทานให้เป็นของจำเป็นในสรรพสังขาร์
หลังจากทำพิธีรับเจ้ามาเป็นประธานในศาลแล้วก็ทำพิธีวางกำลังทหารรักษาการตามทิศเรียกว่า พิธี "ปังเอี้ย" หรือ ปั้งกุ๊น" พิธีนี้จะใช้ธงสีต่าง ไปปักเป็นสัญลักษณ์การวางกำลังทหาร ถือเอาสมัยซ้องคือการวางกำลังทำทิศ
ในช่วงเวลาทำพิธี ๙ วัน จะมีพิธีย่อย ๆ หลายอย่างได้แก่
๑. พิธีบูชาเจ้า ในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาเจ้าด้วยเครื่องเซ่น และตามบ้านของผู้กินผัก เมื่อกินผักได้ครบ ๓ วัน จะถือว่าผู้นั้นสะอาดบริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า "เช้ง" ตอนนี้จะมีการทำพิธีเชิญเจ้า ๒ องค์ มาร่วมพิธี องค์แรกเป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้มาเกิดชื่อ "ล้ำเต้า" อีกองค์เป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้ตายไปชื่อ "ปักเต้า"
๒. พิธีโขกุ้น หมายถึงการเลี้ยงทหาร ซึงทำพิธีในวัน ๓ ค่ำ ๖ ค่ำ และ ๙ ค่ำ หลังเที่ยงเมื่อเริ่มพิธีต้องมีการเตรียมอาหาร และเหล้าสำหรับเซ่นสังเวย เลี้ยงทหารและมีหญ้าหรือพวกถั่ว เพื่อเป็นอาหารของม้า หรือเมื่อเสร็จพิธีแล้วตอนกลางคืนจะเรียกตรวจพลทหารตามทิศเรียกว่า "เซี่ยมเมี้ย"
๓. พิธีซ้องเก็ง เป็นการสวดมนต์โดยจะเริ่มทำการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิวอ๋องไตเต หนือกิวอ๋องฮุดโจ้วเข้ามาประทับในโรงพระ และจัดทำพิธีสวดวันละ ๒ ครั้ง ในตอนเช้าและตอนย่ำค่ำ เป็นลักษณะการสวดมนต์เช้า และสวดมนต์เย็น โดยเฉพาะกลางคืน หลังจากสวดมนต์ซึ่งใช้บทสวดคือ ปักเต้าเก็ง ก็จะมีการ "ตักซ้อ" คืออ่านรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมกินเจ ซึ่งอ่านต่อหน้าแท่นบูชา เป็นลักษณะการเบิกตัวเข้าเฝ้า
๑. พิธีบูชาดาว จะทำในคืนวัน ๗ ค่ำ เพื่อขอให้ช่วยคุ้มครองผู้กินผัก
๒. พระออกเที่ยว หรือการแห่เจ้า เป็นการออกเพื่อโปรดสัตว์ออกเยี่ยมประชาชนเคารพนับถือ โดยจะมีขบวนธงและป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นก็จะเป็นการเกี้ยวหามพระเรียกว่า "ถ้วยเปี๊ย" โดยจะหามรูปพระบูชาต่าง ๆ ออกนั่งเกี้ยวไป ซึ่งจะจัดตามชั้น และยศของพระ เช่น จากสิญูขึ้นไปก็เป็นง่วนโส่ย สูงไปอีกก็เป็นไต่เต้ สูงขึ้นไปเป็นฮุด จากนั้นจะเป็นขบวนเกี้ยวใหญ่ ซึ่งมักจะใช้คน ๘ คน และมีฉัตรจีนกั้นไปด้วย จะเป็นที่ประทับของกิวอ๋องฮุดโจ้ว ในขณะที่ขบวนแห่ผ่านไป ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้าน และจุดประทัดต้อนรับขบวนเมื่อผ่านไปถึง
๓. การลุยไฟ กองไฟถือว่าเป็นกองไฟศักดิ์สิทธิ์ ในแง่ความศักดิ์สิทธิ์เป็นการแสดงถึงอิทธิฤทธิ์ที่บังคับไฟไม่ให้ร้อนหรืออาจจะถือว่าเป็นไฟทิพย์ ใช้ชำระความสกปรกของร่างกายให้บริสุทธิ์โดยลุยทั้งคนทรงเจ้าที่กำลังประทับทรง หรือประชาชนโดยทั่วไปก็ได้
๔. พิธีส่งพระ ทำในวันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก โดยตอนกลางวันจะมีการส่งเทวดา มักจะส่งกันที่หน้าเสาธง ส่วนตอนกลางคืนจะมีการส่งพระกิวอ๋องฮุดโจ้วกลับสวรรค์ โดยส่งกลับทางทะเล เมื่อขบวนส่งออกพ้นประตู ไฟทุกดวงในโรงพระต้องดับสนิทหมดแล้ว ตะเกียงที่เสาธงจะถูกดึงขึ้นสูงสุดตอนเช้าของวันแรก หลังจากเสร็จงานกินผักจะมีการลงเสาธง และเรียกกำลังทหารกลับ หลังจากที่เลี้ยงทหารเสร็จแล้ว จากนั้นก็เปิดประตูใหญ่ เมื่อได้ฤกษ์เปิดตามวันในปฏิทิน หรือตามที่เจ้าสั่งไว้ 


สาระ 
ระเพณีกินผักเชื่อกันว่าเริ่มขึ้นที่ประเทศจีน ชาวเมืองทั้งหลายในประเทศจีนประกอบพิธีกินผักขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติอีกทั้งเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์และระลึกถึงดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ตนเคารพให้ช่วยปกป้องคุ้มครองด้วย ชาวจีนในพังงาจึงจัดพิธีกรรมกินผักเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีกินผักในจังหวัดพังงา โดยเฉพาะที่อำเภอตะกั่วป่า เริ่มขึ้นในการทำพิธีกินผัก ผู้คนที่ร่วมพิธีจะล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบอาหารจนสะอาดหมดกลิ่นคาว บ้างก็ใช้ภาชนะชุดใหม่ในการประกอบอาหารหรือใส่อาหารผัก บ้างก็ไปรับประทานอาหารที่โรงครัว ในช่วงกินผักนี้ผู้ที่เคร่งครัดในพิธีจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวตลอดทั้ง ๙ วัน โรงครัวของศาลเจ้าจะรับภาระหนักมากในเรื่องการประกอบอาหารให้กับผู้ที่ร่วมกินผัก ผู้ใดที่ประสงค์จะรับอาหารจากศาลเจ้าต้องไปลงชื่อแจ้งความประสงค์บอกจำนวนบุคคลในบ้านที่ร่วมกินผัก และจำนวนวัน เพื่อว่าโรงครัวจะได้จัดเตรียมอาหารได้เพียงพอ เมื่อถึงเวลาอาหารจะนำปิ่นโตตักอาหารไปรับประทานที่บ้าน และเนื่องจากจำนวนของผู้ร่วมกินผักมีมากทางโรงครัวจึงต้องหาอาสาสมัครมาช่วยงานครัวเป็นจำนวนมาก สำหรับอาหารและค่าใช้จ่ายในโรงครัวนั้นได้รับบริจาคจากผู้มีใจศรัทธา และบุคคลทั่วไป และจากผู้เข้าร่วมกินเจ อาหารที่โรงครัว จัดทำมีทั้งผัด แกงจืด และแกงเผ็ด ซึ่งปราศจากไข่ และเนื้อสัตว์ นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ ศาลเจ้าก็จะมีแม่ค้าทำอาหารผักนานาชนิดมาจำหน่าย การประกอบพิธีสำคัญ ๆ ในช่วง ๙ วันนี้ จะมีการทรงเจ้าโดยอัญเชิญเจ้าต่าง ๆ มาประทับทรงในร่างของม้าทรงนั้น คือผู้ที่ชะตากำลังจะดับ ก็จะเข้าร่างประทับทรง เพื่อต่ออายุให้ หรือบุคคลที่เหมาะสม และสมัครใจจะเป็นม้าทรง เจ้าก็จะเข้าประทับทรงเช่นกัน ในระยะที่มีการประกอบพิธีต่างๆ หรือในกรณีที่มีการแห่ขบวนไปม้าทรงจะแสดงอิทธิฤกษ์ ฟาดฟันอาวุธไปตามร่างกายของตนเอง บ้างเอาเหล็กแหลมทิ่มแทงลิ้น แก้ม แขน ขา มีการขึ้นบันได มีดแหลมคมก็มิได้ปรากฏบาดแผลให้เห็นเลย ภาษาที่ม้าทรงพูดขณะที่เจ้าประทับทรงก็เป็นภาษาจีนตลอด ถึงแม้ตัวม้าทรงเองจะไม่เคยรู้เรื่องภาษาจีนเลยก็ตามการที่ม้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ถือกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้แก่ผู้ที่กินผัก โดยพระเป็นผู้รับเคราะห์เสียเอง ในระหว่างการประกอบพิธีต่าง ๆ จะมีการประโคมด้วยกลอง เสียงอึกทึกมาก มีการซื้อหาประทัดเพื่อนำมาจุดในระยะของการประกอบพิธีกันมากมาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น